เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 9. คิหิสูตร
2. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน1 อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่งประการที่ 2 อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว
เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
ที่ยังไม่ผ่องแผ้ว
3. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง
ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่อริยบุคคล 4 คู่ คือ 8 บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
อันมีในจิตยิ่งประการที่ 3 อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความ
หมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่
ผ่องแผ้ว
4. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่2 ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิต
ยิ่งประการที่ 4 อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่ง
จิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว
คฤหัสถ์ผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง 4 ประการนี้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

เชิงอรรถ :
1 ควรน้อมเข้ามาในตน หมายถึงควรน้อมเข้ามาสู่จิตของตนหรือควรน้อมเข้ามาเพื่อการปฏิบัติ (องฺ.ติก.อ.
2/54/158)
2 ศีลที่พระอริยะใคร่ ในที่นี้หมายถึงศีลในอริยมรรค ศีลในอริยผล (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/179/69)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :301 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 9. คิหิสูตร
สารีบุตร พวกเธอพึงรู้จักคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงาน
สำรวมดีในสิกขาบท 5 ประการ และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
อันมีในจิตยิ่ง 4 ประการนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ ก็พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรก
สิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติ
สิ้นแล้ว และมีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
บัณฑิตเห็นภัยในนรกแล้ว พึงเว้นบาปเสีย
สมาทานอริยธรรม1แล้ว พึงเว้นบาปเสีย
ก็ในเมื่อมีความพยายามอยู่
ไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
ไม่พึงกล่าวเท็จทั้งที่รู้
ไม่พึงหยิบฉวยสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
พึงยินดีภริยาของตน ไม่พึงยินดีภริยาผู้อื่น
ไม่พึงดื่มสุราเมรัย2เครื่องยังจิตให้หลงไหล
พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพึงตรึกถึงพระธรรม3
พึงเจริญจิตอันปราศจากพยาบาท4เพื่อเกื้อกูลแก่เทวโลก
ทักษิณาที่ผู้ต้องการบุญแสวงหาบุญอยู่ให้แล้วในสัตบุรุษ5เป็นอัน
ดับแรก

เชิงอรรถ :
1 อริยธรรม ในที่นี้หมายถึงศีล 5 (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/179/69)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 32 (จุนทีสูตร) หน้า 49 ในเล่มนี้
3 ตรึกถึงพระธรรม ในที่นี้หมายถึงระลึกถึงโลกุตตรธรรม 9 ประการ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1
(องฺ.ปญฺจก.อ.3/179/69)
4 จิตอันปราศจากพยาบาท ในที่นี้หมายถึงพรหมวิหารจิตมีเมตตาจิตเป็นต้น ที่ไม่มีทุกข์ (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/179/69)
5 สัตบุรุษ ในที่นี้หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/179/69)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :302 }